มีหลายที่ประสบปัญหาการลดน้ำหนัก
เราต้องตั้งเป่าหมายให้ชัด ตามมาด้วยวินัยและการหักห้ามใจตัวเรา เป็นสิ่งสำคัญ มันถึงจะประสบความเสร็จ
มาเข้าปัญหาความอ้วนกัน
เรามักจะคิดว่าสิ่งแรกที่เราต้องทำคือการอดอาหาร โหมออกกำลังกายเพื่อให้ตัวเราผอมลง และตัวเลขน้ำหนักลดลง หารูัมัย มันคือความเชื่อที่ผิดๆ เพราะว่าแก้นแท้ของการลดความอ้วนนั้น คือ ลดไขมัน
เมื่อเรากินอาหารเข้าไปมากกว่าปกิต ปริมาณที่ร่างกายเผาผลาญหรือใช้ไป จะถูกเก็บสะสมเป็นไขมันทุกวันๆ จนน้ำหนักขึ้นและอ้วนได้ในที่สุด ดังนั้นการลดความอ้วน คือ คุณต้องกำจัดจุดอ่อนไม่ใช่^ ^ กำจัดไขมันส่วนเกิน(เอามันออกไป) นอกจากนี้ไขมันส่วนเกินยังเป็นภัยร้ายเกาะตามชั้นผิวหนังและยังสะสมแทรกตามอัวยวะต่างๆ เช่น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ และหัวใจ ผลร้ายที่เป็นโบนัสของแถมมานั้น จากความอ้วนก็คือโรคร้ายต่างๆ เช่น เบาหวาน ข้อเสื่อม โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองตีบ ความดันเลือดสูง และปัญหาด้านจิตใจ เช่น การไม่พอใจในร่างกายตัวเราเอง หรือการถูกมองจากสังคม
การรู้จักสร้างกล้ามเนื้อแทนที่ไขมัน
เป้าหมายของการลดความอ้วนนั้น จึงต้องลดไขมันส่วนเกินแล้วแทนที่ด้วยกล้ามเนื้อ ยิ่งมีมวลกล้ามเนื้อมากยิ่งทำให้กระบวนการเมตาบอลิซึมคือการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย โดยเฉพาะไขมันได้มากก่วาคนที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย อาหารที่กินเข้าไปก็จะไม่สะสมแล้วแปรสภาพเป็นไขมันส่วนเกิน ซึ่งเป็นตัวการทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น การลดความอ้วนจึงไม่ใช่การอดอาหารเพื่อให้น้ำหนักลดอย่างที่หลายเข้าใจกันอยู่
“ ตัวเลขบนตาชั่งไม่สามารถชี้วัดการลดอ้วนที่ถูกต้อง แต่เป็นเพียงตัวช่วยเสริมให้เราทราบถึง น้ำหนักมวลรวมที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น “
ไขข้อข้องใจ ทำไมถึง ” โยโย่ ”
ลองเช็กดูว่าคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้หรือเปล่า
. โหมออกกำลังกายหนัก
. อดมื้อกินมื้อ
. งดกินคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
. กินแต่ผักและผลไม้อย่างเดียว
. ฯลฯ
พอทำแบบนี้ติดต่อกันร่างกายจะปรับตัวเพื่อให้คุ้นชินกับอาหารที่กินเข้าไป ระบบเผาผลาญจะลดการทำงานน้อยลง เสี่ยงต่อภาระขาดสารอาหาร ร่างกายผอมลง สูญเสียมวลกล้ามเนื้อมาก และถ้าคุณหยุดพฤติกรรมนี้เมื่อไรน้ำหนักจะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเจอกับภาวะ ” โยโย่ ” ระบบเผาผลาญพัง กลับมาอ้วนเหมือนเดิม ลดน้ำหนักยาก และร่างกายจะกลับมาปกติก็ต้องใช้เวลาฟื้นฟูอีกนาน
วิธีลดความอ้วน (ไขมัน) ที่ถูกต้อง
กินให้เป็น
มีหลักการง่ายๆ ว่า ” หนักเช้า เบาเที่ยง เลี่ยงเย้น เว้นดึก ” มื้อเช้าต้องเป็นมื้ออาหารหลักเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้พลังงานตลอดทั้งวัน เมื่อมื้อเช้าทานเต็มอิ่ม มื้อเที่ยงก็จะรู้สึกหิวน้อยลง แต่ควรทานให้ได้ครึ่งหนึ่งของมื้อเช้า และมื้อเย็นควรทานก่อน 6 โมงเย็น โดยเน้นผัก เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผลไม้หวานน้อย เลี่ยงอาหารจัดรสจัด อาหารไขมันสูง จำกัดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงในแต่ละวัน ลองเลือกดื่มเป็นน้ำเปล่า ชาจีน กาแฟดำ(ไม่เกิน1แก้วต่อวันนะ) น้ำมะนาว(ไม่ใส่น้ำตาล) และเข้านอนช่วง 4 – 5 ทุ่ม ลองทำแบบนี้ทุกๆวันดู หุ่นเราจะเริ่มดูกระชับขึ้น
ออกกำลังกาย 30 นาทีทุกวัน
นอกจากคุมอาหารแล้วต้องออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วยจะเห็นผลได้ชัดขึ้น ไขมันลดลงกล้ามเนื้อเข้าแทนที่ สำหรับคนเริ่มออกกำลังกายอาจเริ่มต้นการเดินเร็ว ก้าวขายาว ๆ และแก่วงแขน ประมาณ 30 นาทีทำติดต่อกัน 5 วัน / สัปดาห์
** รู้ไหมว่า…หากเดินได้เร็วถึง 1 ชั่วโมงหรือประมาณ 6 กิโลเมตร จะใช้พลังงานได้ถึง 350 แคลอรี่หรืออาจจะลองปั้นจักรยาน ว่ายน้ำ ควบคู่กับการทำเวทเทรนนิ่ง เสริมสร้างกล้ามเนื้อช่วยระบบเผาผลาญในร่างกายให้ดีขึ้น
ความเครียดทำให้อ้วน
บางคนเครียดแล้วมักจะหาที่ลงด้วยการกิน เพราะร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียดชื่อว่า คอร์ติโซล(Cortisol) ในปริมาณมาก จึงทำให้รู้สึกอยากอาหารมาก ๆ โดยเฉพาะของหวานและของมัน จนกลายเป็นคนที่สะสมไขมันได้ง่ายกว่าคนที่อารมณ์ดี ฉะนั้นคุณต้องรู้จักสังเกตอารมณ์และจิตใจตัวเอง แล้วคุณจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
** วิธีคลายเครียดที่ได้ผลคือ การออกกำลังกาย จะทำให้ร่างกายหลั่ง เอ็นดอร์ฟิน(Endorphin) ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
ทำไมทำตามวิธีเหล่านี้แล้วยังไม่ได้ผล
คุณอาจไม่ได้อ้วนเพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่อาจเข้าข่ายภาวะอ้วนจากความผิดปกติในร่างกายคือ เกิดจากร่างกายมีระบบเผาผลาญที่ผิดปกติ หรือกินแล้วร่างกายไม่เผาผลาญ ซึ่งจะรู้แน่ชัดโดยผ่านการตรวจสอบจากแพทย์ เพราะต้องตรวจเช็กเรื่องฮอร์โมน อาทิ ต่อมใต้สมอง ไทรอยด์ ตับอ่อน ฮอร์โมนที่ใช้ในการเผาผลาญ และหากพบว่าเกิดจากระบบเผาผลาญในร่างกายผิดปกติ ก็จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะแพทย์จะทำการวินิจฉัยปรับเปลี่ยนวิตามิน ปรับปรุงเกลือแร่เพื่อเข้าไปช่วยเรื่องระบบเผาผลาญ เมื่ออาการดีขึ้นไขมันและคอเลสเตอรอลจะลดลง ร่างกายก็จะสามารถกลับมาแข็งแรงเป็นปกติ
เรามาเข้าเรื่องการออกำลังกายให้ดีต่อสุขภาพ
ออกกำลังกาย คือ การทำกิจกรรมออกแรงหรือเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ โดยช่วยจัดระเบียบร่างกายและควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี
รวมทั้งเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความทนทาน ความแข็งแรง การทรงตัว และความยืดหยุ่น ดังนี้
. ความทนทาน (Endurance) ช่วยให้หัวใจแข็งแรง เพื่อร่างกายจะได้ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยง เซลล์ต่าง ๆ ดีขึ้น และไม่เหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมหนัก ๆ
. ความแข็งแรง (Strenght) ช่วยให้แบกของหนัก ออกแรง รวมทั้งทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
. การทรงตัว (Balance) ช่วยให้ทรงตัว รวมทั้งเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่หกล้มได้ง่าย
. ความยืดหยุ่น (Flexibility) ช่วยให้ยืดตัว เอี้ยวตัว หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ง่ายขึ้น
ประเภทการออกกำลังกายมีอะไรบ้าง
การออกกำลังกายมีหลายรูปแบบ ผู้คนมักเลือกออกกำลังกายเฉพาะที่ตนเองสนใจ อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายให้ครบทุกรูปแบบจะช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายทุกด้านให้ดีขึ้น โดยการออกกำลังกายแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การออกกำลังกายฝึกกล้ามเนื้อ การยืดกล้ามเนื้อ และการออกำลังกายเสริมการทรงตัว ดังนี้
การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic Exercise)
การออกกำลังกายประเภทนี้ถือว่าสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย โดยช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจดีขึ้น ช่วยขยายผนังหลอดเลือด ลดความดันโลหิต เผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดอาการอักเสบ และเพิ่มระดับไขมันดี ทั้งนี้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกควบคู่กับการลดน้ำหนักยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
การออกกำลังแบบฝึกกล้ามเนื้อ (Strenght Training)
ร่างกายจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อตามอายุที่มากขึ้น การออกกำลังฝึกกล้ามเนื้อจะช่วยสร้างกล้ามเนื้อที่สูญเสียไปได้ โดยสามารถใช้อุปกรณ์สำหรับฝึกกล้ามเนื้อ ยางยืดสำหรับออกกำลังกาย หรือของใช้ต่าง ๆ ภายในบ้านมาประยุกต์สำหรับฝึกกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ ควรบริหารกล้ามเนื้อมัดใหญ่สัปดาห์ละ 2 วันหรือมากกว่านั้น และฝึกกล้ามเนื้อครั้งละประมาณ 30 นาที โดยห้ามฝึกกล้ามเนื้อกลุ่มเดียวกันติดกัน 2 วัน
การยืดเส้น (Stretching)
เมื่ออายุมากขึ้น อาจทำให้สุญเสียความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริว กล้ามเนื้อถูกทำลาย ตึงกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ หรือหกล้มได้ การยึดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำจะช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นมากขึ้น ส่งผลให้เคลื่อนไหวได้ดีและลดอาการปวดหรือเสี่ยงได้รับบาดเจ็บน้อยลง
การออกกำลังเสริมการทรงตัว (Balance Exercise)
ผู้ที่มีอายุมากขึ้นจะสูญเสียระบบที่ช่วยเรื่องการทรงตัวของร่างกาย ได้แก่ การมองเห็น หูชั้นใน หรือกล้ามเนื้อขาและข้อต่อ การออกกำลังเสริมการทรงตัวจะช่วยให้ร่างกายทรงตัวได้ดีขึ้น อีกทั้งยังป้องการหกล้ม โดยทั่วไปแล้ว การออกกำลังชนิดนี้ทำได้บ่อยตามต้องการ เนื่องจากการออกกำลังการเสริมการทรงตัวบางท่าก็รวมอยู่ในการฝึกกล้ามเนื้อร่างกายส่วนล่างบางท่าด้วย ทั้งนี้ การออกกำลังเสริมการทรงตัวสามารถฝึกได้เอง
เริ่มต้นออกกำลังกายอย่างถูกต้อง
การเตรียมตัวสำหรับเริ่มออกกำลังกายถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะช่วยให้ผู้ฝึกตั้งเป้าหมายสำหรับออกกำลังกายได้อย่างชัดเจน กระตุ้นตัวเองให้ออกกำลังกายอยู่เสมอ อีกทั้งยังออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องและส่งผลดีต่อสุขภาพ ผู้ฝึกลองเริ่มต้นออกกำลังกาย ดังนี้
1.ระบุกิจวัตรประจำวันที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย
2.ตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกาย
3.เขียนแผนการออกกำลังกาย
4.ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการออกกำลังกาย
5.เลือกรองเท้าสำหรับออกกำลังกาย
วิธีทดสอบสมรรถภาพการออกกำลังกาย
ผู้ฝึกที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควรทดสอบสมรรถภาพการออกกำลังกายของตนเอง เพื่อดูว่าควรเพิ่มระดับการออกกำลังกายต่อไปหรือไม่ วิธีทดสอบสมรรถภาพแบ่งออกตามประเภทการออกกำลังกายดังนี้
วิธีทดสอบสมรรถภาพความทนทาน
ผู้ฝึกสามารถทดสอบความทนทานของร่างกายโดยจับเวลาว่าสามารถเคลื่อนไหวร่างกายในระยะทางที่กำหนดได้เท่าไหร่ เช่น กำหนดระยะทางจากบ้านไปโรงเรียน แล้วทดสอบเดินว่าใช้เวลาเดินภายในระยะทางที่กำหนดได้เท่าไหร่ หากใช้เวลาน้อยลง ก็หมายถึงสมรรถภาพความทนทานเพิ่มขึ้น ผู้ฝึกควรทดสอบสมรรถภาพความทนทานทุกเดือน
วิธีทดสอบสมรรถภาพความแข็งแรง
การทดสอบความแข็งแรงของร่างกายจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สมรรถภาพความแข็งแรงของร่างกายส่วนบน และสมรรถภาพความแข็งแรงของร่างกายส่วนล่าง ดังนี้
. สมรรถภาพความแข็งแรงของร่างกายส่วนบน
. สมรรถภาพความแข็งแรงของร่างกายส่วนล่าง
วิธีทดสอบสมรรถภาพความยืดหยุ่น
ผู้ฝึกนั่งบนขอบที่นั่งของเก้าอี้ ยืดขาออกมาข้างหนึ่ง โดยให้ส้นเท้าแตะพื้นและปลายเท้าชี้ขึ้นด้านบนงอขาอีกข้างให้เท้าราบไปบนพื้น ค่อย ๆ ยื่นมือเอื้อมไปแตะปลายเท้าของขาข้างที่ยืดออก พยายามยืดจนรู้สึกตึง และทดสอบอีกครั้งเมื่อผ่านไป 1 เดือน เพื่อดูว่าสามารถเอื้อมไปแตะปลายเท้าได้มากน้อยแค่ไหน
วิธีทดสอบสมรรถภาพการทรงตัว
ผู้ฝึกยืนขาเดียวและจับเวลา โดยห้ามจับหรือยึดสิ่งของเพื่อไม่ให้ล้ม ส่วนผู้ที่ยังทรงตัวได้ไม่ดี สมารถหาที่ยึดไว้ได้ จากนั้นให้สลับยืนขาเดียวอีกข้าง พร้อมบันทึกเวลาที่ทำได้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบการทรงตัวของขาทั้งสองข้าง รวมทั้งทดสอบอีกครั้งภายใน 1 เดือน เพื่อดูว่าสามารถยืนขาเดียวได้นานกว่าเดิมหรือไม่
นอกจากนี้ ผู้ฝึกอาจทดสอบสมรรถภาพการออกกำลังกายของตนเองได้โดยสังเกตสัญญาณหรืออาการต่าง ๆ ของร่างกายที่มีพัฒนาการ ดังนี้
. มีพละกำลังมาก
. อารมณ์และสุขภาพจิตดี
. ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ง่าย
. ขึ้นบันไดแล้วไม่เหนื่อยเร็ว
. ขึ้นรถลงรถสะดวก
. นอนหลับสนิท
. ไม่ได้รับบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวร่างกาย
. อาการป่วยดีขึ้น